Home > ข่าว ประชาสัมพันธ์ > ABeam แนะองค์กรบรรลุระดับทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงาน พร้อมรับวิถีใหม่ปัจจุบันและอนาคต

ABeam แนะองค์กรบรรลุระดับทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงาน พร้อมรับวิถีใหม่ปัจจุบันและอนาคต

//
Comments are Off

 

เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) แนะธุรกิจปรับรูปแบบการทำงานสู่ระดับที่สร้างประสิทธิผลที่สูงขึ้น ด้วยรูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัจจุบันรูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป มีการทำงานแบบ Remote working มากขึ้น การกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติ (Policy & Guideline) เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) การเตรียมความพร้อมพนักงาน (People) และกระบวนการ (Process) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำไปสู่การทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานในระดับที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจ ทั้งด้านการบริการลูกค้า (Client service) ความสำเร็จขององค์กร (Firm’ s success) และความพึงพอใจส่วนบุคคลของพนักงาน (Personal satisfaction) ABeam พบองค์กรส่วนมากทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานเพียงระดับแรกด้วยการทำระบบ IT และแอปพลิเคชันที่สนับสนุนการทำงานในรูปแบบใหม่ดังกล่าว และยังคงประสบปัญหาในการทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในยุควิถีใหม่ ย้ำธุรกิจเร่งทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

นายอิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจในรูปแบบดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลกระทบจากโควิค-19 ได้เปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ๆ มากมายในด้านประสิทธิภาพการทำงานและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน จากรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป มีการทำงานในรูปแบบ Remote working มากขึ้น มีวิธีใหม่ในการสื่อสารและมีเครื่องมือการทำงานที่ช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงาน

“ทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงาน หรือ Workstyle Transformation เน้นปรับกระบวนการและวิธีการทำงานให้ตอบโจทย์เป้าหมายองค์กร การให้บริการลูกค้า และความพึงพอใจของพนักงาน ซึ่งทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น หลายองค์กรประสบปัญหาเนื่องจากนโยบายและแนวทางปฏิบัติ ที่ไม่ชัดเจน พนักงานขาดทักษะความรู้ความเข้าใจ และกระบวนการทำงานที่ไม่มีความพร้อมสอดรับกับยุควิถีใหม่ ทั้งนี้ ABeam พบว่ามีองค์กรส่วนมากทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานเพียงระดับแรกด้วยการทำระบบ IT และ Applications ที่สนับสนุนการทำงานในรูปแบบใหม่ดังกล่าวและยังคงประสบปัญหาในการทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากนโยบายและแนวทางปฏิบัติไม่ชัดเจน พนักงานขาดทักษะความรู้และความเข้าใจ รวมทั้งกระบวนการทำงานที่ไม่มีความพร้อมในยุควิถีใหม่” นายฮาระกล่าว

จากประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับองค์กรในการทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงาน Abeam แบ่งระดับการทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานเป็น 4 ระดับ คือ ระดับที่ 1 เป็นการติดตั้ง IT และแอปพลิเคชัน เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานในรูปแบบใหม่ได้ แต่พนักงานยังไม่คุ้นเคยกับรูปแบบดังกล่าว ระดับที่ 2 คือพนักงานสามารถใช้เครื่องมือ IT ที่องค์กรติดตั้งให้ได้ แต่ยังคงทำงานไม่ได้ประสิทธิผลในระดับที่ตั้งไว้ ระดับที่ 3 เป็นระดับที่องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วยประสิทธิผลที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยรูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการใช้กระบวนการดิจิทัลและการปรับเปลี่ยนการทำงานด้วยการลดกระบวนการที่ไม่จำเป็น (Lean and Digitalized process) และระดับที่ 4 ซึ่งเป็นระดับการทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานที่ดีที่สุด คือการที่องค์กรมีการปรับรูปแบบธุรกิจ (Business model reform) เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ด้วยการเชื่อมต่อทั้งลูกค้าและพันธมิตรเข้าด้วยกัน

An aerial view of a mother working on a laptop in her office at hoe with her young daughter string on her lap.

“ABeam แนะนำให้ธุรกิจเร่งทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานในยุควิถีใหม่ที่มีการทำงานแบบ Remote working มากขึ้น โดยอย่างน้อยคือให้ได้ระดับที่ 3 เพื่อการทรานส์ฟอร์มที่ประสบความสำเร็จในระยะยาว อันจะนำมาซึ่งประสิทธิผลในการทำงานที่เท่าหรือมากกว่าระดับเดิมก่อนการทรานส์ฟอร์ม โดยระเบียบวิธี (Methodology) ของ ABeam ในการนำไปสู่การทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพจะประกอบด้วย 4 เสาหลัก และ 6 ขั้นตอน จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ABeam สามารถช่วยบริษัทต่าง ๆ ให้บรรลุระดับ 3 ของการทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานได้ภายเวลาไม่กี่เดือน” นายฮาระอธิบาย

4 เสาหลักในกระบวนการทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงาน ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติ (Policy & Guideline) เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) การเตรียมความพร้อมพนักงาน (People) และกระบวนการ (Process) โดย 6 ขั้นตอนในการทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงาน ได้แก่ 1. การกำหนดนโยบายและกฎระเบียบของการทำงานแบบ Remote Working 2. การเลือกเครื่องมือและแอปพลิเคชัน ด้านที่สนับสนุนการทำงานรูปแบบดังกล่าว 3. การมีโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยด้าน IT สำหรับการทำงานแบบ Remote working 4. การบริหารจัดการแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมของพนักงาน 5. กระบวนการบริหารจัดการการทำงานในรูปแบบใหม่ และ 6. กระบวนการทำงานในรูปแบบดิจิทัลต่าง ๆ

“การทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานในระดับที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในสภาพการทำงานที่มีการทำงานแบบ Remote working มากขึ้นนั้น จะต้องตอบโจทย์ธุรกิจทั้งด้านการบริการลูกค้า (Client service) ความสำเร็จขององค์กร (Firm’ s success) และความพึงพอใจส่วนบุคคลของพนักงาน (Personal satisfaction) ถึงแม้ปัจจุบันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยนับว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้ แต่เราแนะนำให้องค์กรเร่งทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงาน เพื่อให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งนับเป็นหนึ่งในการเตรียมการณ์ภายใต้แผนการบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan” นายฮาระกล่าวทิ้งท้าย

Comments

comments

You may also like
SAP Concur ยก ABeam เป็นพันธมิตรยอดเยี่ยม
เอบีม คอนซัลติ้ง เจาะลึกจุดเปลี่ยนยานยนต์อาเซียน การขยับจากตลาดรถจักรยานยนต์สู่รถยนต์มากขึ้น
ABeam Consulting ร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ในฐานะพันธมิตรร่วมขับเคลื่อนธุรกิจรถ EV เพื่ออนาคตในภูมิภาค
“เอบีม คอนซัลติ้ง” จับมือ “ออโต้ฟลีต” สตาร์ทอัพด้าน Mobility ขยายตลาด MaaS ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก