Home > ข่าว ประชาสัมพันธ์ > ทำไมระบบบริหารจัดการโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งขึ้น โดย เควิน บราวน์ รองประธานอาวุโส โซลูชัน EcoStruxure ธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ทำไมระบบบริหารจัดการโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งขึ้น โดย เควิน บราวน์ รองประธานอาวุโส โซลูชัน EcoStruxure ธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

//
Comments are Off

เมื่อมองย้อนกลับไปยังปี 2020 เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการพิจารณาถึงความคืบหน้าที่ทางทีมงาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ดำเนินการมา และหนึ่งในผลงานโดดเด่นที่น่าชื่นชมคือ DCIM (ระบบบริหารจัดการโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์)
ผ่านมา 2 ปีแล้วที่ผมได้พูดถึงความจำเป็นของ DCIM ว่ายังอยู่ในกระแสหรือไม่ ในเวลานั้น ผมได้สรุปว่า DCIM จะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการพึ่งพาระบบโครงสร้างไอที ณ จุดประมวลผลมีบทบาทสำคัญมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เครื่องมือการบริหารจัดการโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมนับว่าไม่เพียงพอ และต้องอาศัยข้อได้เปรียบของคลาวด์และเทคโนโลยีโมบายมาช่วย
ปัจจุบัน ในปี 2021 ผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะบอกว่า เราได้มีพัฒนาการอย่างมากในการนำเสนอ DCIM และ DCIM ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ต้องเร่งปฏิรูปสู่ยุคดิจิทัล เมื่อผู้คนบนโลกส่วนใหญ่กำลังทำงานจากที่บ้านกัน
DCIM สร้างโอกาส ทั้งในดาต้าเซ็นเตอร์ และที่เอดจ์
ที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) เราช่วยให้การนำ DCIM มาปรับใช้ได้ง่ายขึ้นในราคาที่ถูกลง ซึ่ง DCIM ในปัจจุบันให้ประโยชน์หลากหลายครอบคลุมทั้งฟังก์ชั่นการมอนิเตอร์ และการบริหารจัดการ โดยสามารถเข้าถึงระบบได้จากทุกที่ ทุกอุปกรณ์ และทุกเวลา และเป็นการพัฒนาจากการสร้างข้อมูลดิบ เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ได้อย่างฉลาดพร้อมข้อแนะนำ รวมถึงมีระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แบบบิวด์-อินมาในตัว ให้ความสามารถด้านการคาดการณ์ และมอนิเตอร์ความปลอดภัยทางกายภาพและสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง
ผมเห็น DCIM นำมาใช้ในหลากหลายแนวทางในอุตสาหกรรมและเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอย่างยิ่ง การเปลี่ยนไปสู่โลกที่เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งก่อนการเกิดโควิด-19 และยิ่งถูกเร่งให้เร็วขึ้นไปอีกในช่วงการแพร่ระบาด โดยทีมงานที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ต่างมุ่งเน้นเรื่องนี้มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่า DCIM มีความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต
การเติบโตของ DCIM


หนึ่งในความท้าทายที่ซับซ้อนมากที่สุดคือเรื่องดาต้าเซ็นเตอร์และความยั่งยืนด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามองไปข้างหน้าในอนาคตอันใกล้ และเห็น ความเป็นไปได้ของวิกฤตด้านพลังงานที่เริ่มก่อตัวขึ้นบริเวณเอดจ์ ผู้คนทั่วโลกต่างใช้เซนเซอร์ และมิเตอร์ IoT เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ไฟฟ้ารวมถึงทรัพยากรอื่นๆ เราวิเคราะห์ข้อมูลจากดาต้าเซ็นเตอร์ และนำมารันอัลกอริธึ่มเพื่อเรียนรู้วิธีที่จะสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืนในภาพรวมได้อย่างเหมาะสมที่สุด ดาต้าเซ็นเตอร์แบบไฮบริดที่มีมากขึ้น นอกจากจะให้ศักยภาพในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลแล้ว ยังเป็นหัวใจสำคัญที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในแนวทางที่ยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม เราต้องมั่นใจว่าตัวระบบโครงสร้างไอทีเองก็ต้องให้ความยั่งยืนเช่นกัน
เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้พูดเกี่ยวกับหลักการทำงานของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค สำหรับการสร้างความยั่งยืนให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ในงานอีเวนท์ Towards Net-Zero ของ DCD ซึ่งผมนำเสนอเรื่อง เมื่อไม่มีแผน B กับการทำงานเพื่อบรรลุการสร้างความยั่งยืนให้ดาต้าเซ็นเตอร์ ผมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการดำเนินงานซึ่งสามารถบรรลุผลสำเร็จได้จากการผสมผสานที่ลงตัวของระบบงานที่เชื่อมต่อกันและบริการซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์ รวมถึงซอฟต์แวร์และระบบวิเคราะห์ แนวทางดังกล่าวช่วยให้มั่นใจว่า DCIM จะมีบทบาทสำคัญใน ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งอนาคต ที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมตอบโจทย์ความท้าทายเรื่องความยั่งยืนได้
ทั้งนี้ เราจะยังคงลงทุนใน DCIM อย่างต่อเนื่องแน่นอน เนื่องจากทั้งการมอนิเตอร์และการบริหารจัดการจากระยะไกลนับเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความยั่งยืนและยืดหยุ่นให้กับสภาวะงานด้านไอทีแบบไฮบริด
Tags: data center infrastructure management, data center solutions, DCIM, Sustainability

Comments

comments

You may also like
Schneider Electric จับมือ AVEVA เปิดโครงการ Schneider Go Green รุ่นที่ 12 ดันเด็กไทยไปแข่งอินเตอร์ฯ ชิงทุนการศึกษาราว 370,000 บาท
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุ่งเสริมศักยภาพ เร่งทรานส์ฟอร์มช่างไฟสู่ดิจิทัล
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค รุดหน้าดำเนินการด้านสภาพอากาศ ด้วยบริการลดคาร์บอนในซัพพลายเชนทั่วโลก บริการล้ำหน้าจะช่วยองค์กรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3 ผ่านการผสานรวมทั้งการวัดปริมาณ การวางกลยุทธ์ และการติดตั้งโซลูชัน
แหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (DER) ที่มีประสิทธิภาพ เริ่มต้นจากระบบการจัดการและไมโครกริด