Home > ข่าว ประชาสัมพันธ์ > มหาวิทยาลัย CMKL และ TCC Technology ผนึกกำลังขับเคลื่อน โครงการแพลตฟอร์มข้อมูลแห่งชาติเชิงปัญญาประดิษฐ์ ด้วยเทคโนโลยีซุปเปอร์คอมพิวเตอร์พลังสูง

มหาวิทยาลัย CMKL และ TCC Technology ผนึกกำลังขับเคลื่อน โครงการแพลตฟอร์มข้อมูลแห่งชาติเชิงปัญญาประดิษฐ์ ด้วยเทคโนโลยีซุปเปอร์คอมพิวเตอร์พลังสูง

//
Comments are Off

 

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย 26 มีนาคม 2564 – มหาวิทยาลัย CMKL ร่วมกับ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับงานวิจัยแห่งชาติด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ขับเคลื่อนด้วย โซลูชั่นซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ พลังการประมวลผลขั้นสูง เพื่อเติมขีดความสามารถให้กับแพลตฟอร์มข้อมูลแห่งชาติเชิงปัญญาประดิษฐ์

CMKL ที่สุดจากสองโลก
มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอลก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (CMU) และสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) โดยซีเอ็มเคแอลได้มีการประยุกต์ใช้แนวทางปฎิบัติ ที่ทรงประสิทธิภาพจากคาร์เนกีเมลลอน ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะสถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์อันดับต้นๆของโลกจากสหรัฐอเมริกา ผสานรวมกับศักยภาพของ KMITL ในฐานะมหาวิทยาลัย ชั้นนำของประเทศไทย ที่มีชื่อเสียงด้านวิศวกรรม

เหนือขีดจำกัด
“ด้วยค่านิยมหลัก – Beyond Limit, Make it happen, CMKL จึงถูกริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างความร่วมมือในรูปแบบใหม่ ระหว่างภาคเอกชนและภาคการศึกษา ในขณะที่หลายองค์กรธุรกิจได้มีการย้ายไปยังเมืองพิตซ์เบิร์กเพื่อได้ใกล้กับ CMU แต่ตอนนี้เราได้สามารถนำ CMU มาสู่ประเทศไทยเพื่อสร้างแนวทางใหม่ๆ สำหรับการทำงานร่วมกันกับภาคธุรกิจทั้งในประเทศไทย และระดับภูมิภาค เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับ ทีซีซี เทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นองค์กรชั้นนำด้านการให้บริการ โครงสร้างพื้นฐานไอทีและโซลูชั่น ดูแลด้านการจัดการโครงสร้างพื้นฐานระดับโลก เพื่อสนับสนุนงานวิจัยบนแพลตฟอร์มแห่งชาติ ด้านปัญญาประดิษฐ์ของเรา” กล่าวโดยดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล

ปลดปล่อยศักยภาพปัญญาประดิษฐ์ของไทย
“เราสนับสนุนให้ภาคการศึกษาและภาคธุรกิจเปิดกว้างและทำงานร่วมกันมากขึ้น ในการผสานจุดแข็งเข้าด้วยกัน เพื่อให้เราสามารถ ใช้ประโยชน์จากพลัง AI ได้อย่างเต็มที่และพร้อมสำหรับการแข่งขันในระดับเวทีโลก ซึ่งต้องขอขอบคุณการสนับสนุนจาก PMU-C จนทำให้สามารถสร้างศักยภาพใหม่ในรูปแบบระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ งานวิจัยและพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ภายใต้ชื่อ “ APEX” (ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ประเทศไทย) โดย APEX จะช่วยปลดล็อคศักยภาพขั้นสูง ให้สามารถรองรับงานด้านปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด รวมถึงช่วยเร่งความเร็วใน การวิเคราะห์ อันจะส่งผลให้เวลาในการ ทำตลาดสั้นลง และเพื่อความยั่งยืนในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน AI ดังกล่าวในอนาคต เราจึงได้ผนึกกำลังกับเหล่าพันธมิตร ทั้งระดับโลกและผู้ให้บริการภายในประเทศอย่าง ทีซีซี เทคโนโลยี เพื่อสร้างขีดความสามารถระดับชาติในการ ขับเคลื่อนพลังการประมวลผลของ APEX และทำความเข้าใจรูปแบบการ ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์” กล่าวโดย ดร. อรทัย สังข์เพ็ชร รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และวิจัย มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล

สุดยอดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“ด้วยพลังการประมวลผลด้าน AI สูงถึง 30เพตาฟลอปส์* APEXคลัสเตอรที่ติดตั้ง ณ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ทรงพลังที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคนี้ โดยโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว จะกลายเป็นแพลตฟอร์มแห่งชาติในการอำนวยความสะดวกด้านคอมพิวเตอร์ AIแบบรวมศูนย์ที่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย สามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นที่เก็บส่วนกลางสำหรับคลังข้อมูลปัญญาประดิษฐ์และชุดข้อมูลการวิจัยที่รองรับจาก MHESI และ PMU-C ซึ่งจุดมุ่งหมายคือการผลักดันให้ปัญญาประดิษฐ์ สามารถตอบสนองความต้องการ ที่เฉพาะเจาะจงของธุรกิจได้อย่างแท้จริง การร่วมมือระหว่างเรากับทีซีซี เทคโนโลยี รวมถึงองค์กรชั้นนำด้านเทคโนโลยี เพื่อทำให้ระบบในส่วนต่างๆที่จำเป็นพร้อมใช้งานสำหรับการวิจัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และด้วยความเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูลถือเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จสำหรับโครงการปัญญาประดิษฐ์ การประมวลผลประสิทธิภาพสูงหมายความว่าสามารถทำงานได้มากขึ้นและมีโอกาสมากขึ้นสำหรับนักวิจัยในการเปลี่ยนแนวคิด การวิจัย AI ให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ” กล่าวโดย ดร.อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร ผู้อำนวยการโครงการ Carnegie Mellon-KMITL มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล
* เพตาฟลอปส์ (หน่วย peta คือ 10 ยกกำลัง 15 หรือ พันล้านล้าน)

โครงการ Apex-Goliath: การริเริ่มที่สำคัญภายใต้กรอบเศรษฐกิจ BCG ของประเทศไทย
การเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ส่งผลให้ Apex-Goliath ถือเป็นโครงการนำร่องที่สำคัญ สนับสนุนโดยสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ(PMU-C) หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(NXPO) โครงการ Apex-Goliath คือระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานวิจัยและ พัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เชื่อมโยงไปสู่ระบบโครงสร้างของ BCG จะช่วยเร่งอัตราการสร้างมูลเพิ่มจากชุดข้อมูลและ เศรษฐกิจปัญญาประดิษฐ์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ รวมไปถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์และพลังงานชีวภาพในประเทศไทย แหล่งข้อมูล : CMKL University

ทีซีซี เทคโนโลยี พร้อมร่วมทางมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้กรอบเศรษฐกิจ BCG
“ทีซีซี เทคโนโลยี รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของ CMKL ในการพัฒนาโซลูชั่นด้านโครงสร้างพื้นฐานให้กับ แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการวิเคราะห์ AI ระดับชาติ ภายใต้แผนการขับเคลื่อนBCGของประเทศ ความร่วมมือครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ ในการก้าวกระโดดของประเทศไทยในด้านปัญญาประดิษฐ์ และการปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจประเทศไทยไปสู่ Value–Based และเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวโดย นายธีรพันธุ์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด

 

พันธมิตรที่น่าเชื่อถือด้านโซลูชัน
“ทีซีซี เทคโนโลยี – ในฐานะพันธมิตรที่น่าเชื่อถือด้านโซลูชั่น เราพร้อมให้การสนับสนุน CMKL ในด้านระบบศูนย์กลาง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เปรียบเป็นกองบัญชาการสำคัญของโครงการนำร่องด้านปัญญาประดิษฐ์ครั้งนี้ ซึ่งจะเอื้อให้เกิดประโยชน์กับ วงการงานวิจัยในมุมของภาคการศึกษาและธุรกิจในประเทศไทยรวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” กล่าวโดย นายพิพิธ จริยวัฒนวิจิตร Deputy MD – Commercial and Operation บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด

โซลูชั่นที่ครอบคลุมการใช้งานแบบบูรณาการ โดยทีซีซี เทคโนโลยี
CMKL เลือกสรรโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานแบบบูรณาการซึ่งขับเคลื่อนโดยทีซีซี เทคโนโลยี ครอบคลุมตั้งแต่ ศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ และระบบควบคุม ระบบเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูง ระบบประมวลผลและจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพสูง เทคโนโลยีการประมวลผล สมรรถนะสูง เพื่อการจัดการด้านAI นอกจากนี้ ยังรวมถึงโซลูชั่นที่ครอบคลุมการใช้งานแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งรวมถึงในส่วนของบริการด้านการบริหารจัดการ และการติดตามตรวจสอบสถานะการเชื่อมต่อด้วยโครงข่ายความเร็วสูง ที่เชื่อมโยงสู่ศูนย์การแลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่เป็นกลางของประเทศไทย ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิผล

ก้าวที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างผลกระทบที่สำคัญ
โครงการด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ริเริ่มขึ้นนี้ จะทวีความสำคัญขึ้นอย่างมากในอนาคตอันใกล้ และด้วยความร่วมมือที่มาพร้อมกับ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ทรงประสิทธิภาพ จะผลักดันไปสู่ก้าวสำคัญในการสร้างประโยชน์จากความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี และการเร่งการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ในวงการวิจัยกับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันเพื่อ ประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

 

You may also like
Open talk: ตอนที่ 10 “National Data Platform for AI”