Home > ข่าว ประชาสัมพันธ์ > อินโฟเฟด-ดีป้า-ม.ศรีปทุม ผนึกกำลังปั้นขุนพลไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ชี้บุคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้เป็นที่ต้องการ แต่ขาดคนมีความรู้และทักษะป้อนตลาดแรงงานดิจิทัล

อินโฟเฟด-ดีป้า-ม.ศรีปทุม ผนึกกำลังปั้นขุนพลไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ชี้บุคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้เป็นที่ต้องการ แต่ขาดคนมีความรู้และทักษะป้อนตลาดแรงงานดิจิทัล

//
Comments are Off

บริษัท อินโฟเฟด จำกัด ผู้นำด้านการให้บริการ Virtual Live Streaming และผู้ก่อตั้งสนามกีฬา “Thailand E-Sports Arena” เพื่อการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตแห่งแรกในประเทศไทย ร่วมกับดีป้า (depa) และมหาวิทยาศรีปทุม ผนึกกำลังเปิดหลักสูตรพัฒนาทักษะและความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สําหรับเกมเมอร์ สู่ White Hackers เปิด 2 หลักสูตร Fundamental (ขั้นพื้นฐาน) และ Whitehacker (ขั้นสูง) พร้อมใบประกาศนียบัตร สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา อายุ 15 ปีขึ้นไป เผยสถิติจากไทยเซิร์ตปี 62 พบไทยเป็นอันดับที่ 4 ของโลกในการแจ้งเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ ขึ้นจากอันดับที่ 6 จากปีก่อนหน้า โดยภัยคุกคามทางไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ ทั่วโลก ปี 63 พุ่งแล้วกว่า 1,744 ครั้ง ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา และมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทั่วโลกต้องการบุคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้กว่า 4 ล้านตำแหน่ง ตั้งเป้าปั้นขุนพลไซเบอร์ซีเคียวริตี้มาตรฐานโลก สร้างความมั่นคงทางไซเบอร์ให้กับประเทศ

นายจิรยศ เทพพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท อินโฟเฟด จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และมหาวิทยาศรีปทุม ผนึกกำลังเปิด หลักสูตรพัฒนาทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สําหรับเกมเมอร์ สู่การพัฒนาเกมเมอร์เป็น White Hackers สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หรือเกมการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ต เพื่อการพัฒนาทักษะทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งความสามารถในการประยุกต์และปรับใช้ได้ในอนาคต ตลอดจนต่อยอดสู่การเป็น White Hackers ซึ่งเป็นทักษะที่จําเป็นในสาขาอาชีพทางไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันตลาดแรงงานมีความต้องการบุคลากรกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก

“สถิติจากไทยเซิร์ตปี 2562 พบไทยเป็นอันดับที่ 4 ของโลกในการแจ้งเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งขึ้นจากอันดับที่ 6 จากปีก่อนหน้า โดยภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลกรูปแบบต่าง ๆ ในปี 2563 พุ่งแล้วกว่า 1,744 ครั้งในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิถีชีวิตในการเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ทั่วโลกต้องการบุคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้กว่า 4 ล้านตำแหน่ง โดยในประเทศไทย TruePlookpanya เผยค่าตอบแทนบุคลากรสาย Cybersecurity ที่ไม่มีประสบการณ์เริ่มต้นตั้งแต่ 16,000 – 22,000 บาทต่อเดือน และจะมีการเลื่อนขั้นตามประสบการณ์และความสามารถ แต่หากเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ของไทย ค่าตอบแทนขั้นต่ำต่อเดือนจะเริ่มต้นที่ 70,000 บาท โดยหากมีประสบการณ์ทำงานมากขึ้น จะสามารถได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นถึง 200,000 – 300,000 แสนบาทต่อเดือน” นายจิรยศกล่าว

ด้าน ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า การจัดหลักสูตรดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 โครงการ คือ โครงการการพัฒนาทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับเกมเมอร์ ขั้นพื้นฐาน (Cyber Security – Fundamental) และ โครงการการพัฒนาทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อพัฒนาเกมเมอร์เป็น White Hackers (Transform Gamers to White Hackers) ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการพัฒนาศักยภาพกำลังคนและบุคลากรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (depa Digital Manpower Fund) โดยตั้งเป้าภายในปี 2564 พัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล 5 แสนคน

“ปัจจุบันวิธีการดำเนินชีวิต เข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้เทคโนโลยีมีช่องโหว่ เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการเพิ่มทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีความมั่นคงและปลอดภัย โดย ดีป้า มุ่งส่งเสริมและสนับสนุน ผลิตบุคลากรด้านดิจิทัล เพื่อป้อนสู่ตลาดแรงงานดิจิทัลที่กำลังขาดแคลนอย่างหนัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคดิจิทัล” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์​ ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการสร้างสรรค์และบ่มเพาะธุรกิจ และ หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธรุกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์เป็นสาเหตุและปัจจัยหลักในการส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต หรือความมั่นคงในภาพรวมของประเทศ ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลที่กำลังขับเคลื่อนสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล สำหรับในประเทศไทย การผลิตบุคลากรจากภาคการศึกษาที่มีทักษะทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หลักสูตรพัฒนาทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สําหรับเกมเมอร์ จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาและผลิตกำลังคนดิจิทัล และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประเทศ และมุ่งผลิตบุคลากรในการผสมผสานความ รู้ ทักษะ และความสามารถในด้านเกมเมอร์และความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ในการสร้างระบบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อไป

ทั้งนี้ หลักสูตรพัฒนาทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สําหรับเกมเมอร์ สู่การพัฒนาเกมเมอร์เป็น White Hackers สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา อายุ 15 ปีขึ้นไป ที่สนใจในความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หรือเกมการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ต โดยเปิดสอน 2 คอร์ส คือ Fundamental (ขั้นพื้นฐาน) เปิดรับทั้งหมด 2 รุ่น รับผู้เรียนรุ่นละ 500 คน เรียน Online 1 วัน Offline 1 วัน วันเริ่มการเรียนการสอนรุ่นที่ 1 ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2563 และเริ่มการเรียนการสอนรุ่นที่ 2 ในวันที่ 16 และ 18 พฤศจิกายน 2563 และ White Hacker (ขั้นสูง) เปิดรับทั้งหมด 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน จำนวนทั้งหมด 100 คน เรียน Online 1 วัน Offline 1 วัน เริ่มการเรียนการสอนรุ่นที่ 1 ในวันที่ 12 -13 มกราคม 2564 และ เริ่มการเรียนการสอนรุ่นที่ 2 ในวันที่ 12 และ 14 มกราคม 2564

พร้อมรับประกาศนียบัตรหลังจบหลักสูตร โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2563 – 7 พฤศจิกายน 2563 สำหรับหลักสูตรพัฒนาทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับเกมเมอร์ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ https://earena.com/tournament/187/overview

Comments

comments

You may also like
ครม. ไฟเขียวการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล และการจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ
ร่วมด้วยช่วยอาคารแสดงประเทศไทย สร้างโอกาสใหม่ในงาน World Expo 2020 Dubai
ยูเอ็น ประเทศไทย จับมือ ดีป้า เปิดตัวแคมเปญ Decade of Action, Decade of Innovation ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อโอกาสในการสร้างใหม่ให้ดีกว่าเดิม
“ดีป้า” ไม่รอโควิด เปิดตัว 5 เมืองอัจฉริยะต้นแบบนำร่อง Thailand Smart City ดันเพิ่ม 3 เมืองเตรียมรอเคาะ พร้อมชงไอเดียจัดทำ Thailand Smart City Index