Home > ข่าว ประชาสัมพันธ์ > เซลส์ฟอร์ซเผย วิกฤตการแพร่ระบาดและภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย สร้างผลกระทบต่อความท้าทาย แรงขับเคลื่อน และเป้าหมายของธุรกิจ SMB ในประเทศไทย

เซลส์ฟอร์ซเผย วิกฤตการแพร่ระบาดและภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย สร้างผลกระทบต่อความท้าทาย แรงขับเคลื่อน และเป้าหมายของธุรกิจ SMB ในประเทศไทย

//
Comments are Off

รายงาน “SMB Trends Report 2020” โดยเซลส์ฟอร์ซเผย ผู้บริโภคกว่า 77% หวังว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นในปีนี้จะเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจเกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น โดยจากรายงานดังกล่าวยังได้รวมข้อมูลคำตอบจากเจ้าของกิจการ SMB กว่า 2,300 ท่านทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึง 102 ท่านจากประเทศไทย เพื่อรายงานเทรนด์ SMB ประจำปี 2020

ในขณะที่ความคาดหวังของผู้บริโภคมีมากยิ่งขึ้น ทำให้เจ้าของกิจการ SMB ต้องเผชิญหน้ากับแรงกดดันในการให้บริการ และการเอาใจใส่ลูกค้า รวมถึงยังต้องพยุงกิจการฝ่าวิกฤตไปพร้อมกัน ซึ่งวิกฤตเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิธีการทำงานของหลายๆกิจการ และมากไปกว่านั้นยังส่งผลกระทบไปถึงเรื่องความท้าทาย แรงขับเคลื่อน และเป้าหมายของเจ้าของกิจการอีกด้วย ซึ่งเซลส์ฟอร์ซได้เผยแผนการฟื้นฟูธุรกิจในช่วงหลัง COVID-19 จากเจ้าของ SMB ทั่วโลกภายในรายงานฉบับนี้

โดยจากผลสำรวจกิจการ SMB ในประเทศไทย แสดงให้เห็นถึง 3 ปัจจัยหลักที่ชะลอกระบวนการทำงานของกิจการ มากที่สุดคือ การตอบโจทย์ความคาดหวังของลูกค้าในอันดับที่ 1 ตามมาด้วย เงินและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นอันดับที่ 2 และในอันดับที่ 3 คือการตามหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ โดยนอกจากนี้ ภายในรายงานยังเผยให้เห็นถึงความท้าทายส่วนตัวของเจ้าของกิจการ SMB ไทย อาทิเช่น การหาลูกค้าใหม่ถือเป็นความท้าทายอันดับที่ 1 ตามมาด้วยการรักษาลูกค้าปัจจุบันเป็นอันดับที่ 2 และการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพเป็นอันดับที่ 3 แต่เมื่อถามถึงปัจจัยที่ชะลอการเติบโตในอนาคตของกิจการ จึงทราบว่า การตอบโจทย์ความคาดหวังจากลูกค้าถือเป็นปัจจัยหลักในอันดับที่ 1 ตามมาด้วยการรักษาความคงที่ทางการเงินเป็นอันดับที่ 2 และการปรับขนาดเทคโนโลยีเพื่อการเติบโตเป็นอันดับที่ 3 ตามตารางด้านล่าง

ประเทศไทย: การขับเคลื่อนและเติบโตของธุรกิจ SMB
ปัจจัยหลักที่ชะลอการทำงานของกิจการ
ปัจจัยหลักที่ท้าทายการเติบโตของกิจการ
ปัจจัยหลักที่ชะลอการเติบโตของกิจการในอนาคต
1. ตอบโจทย์ความคาดหวังของลูกค้า
1. การหาลูกค้าใหม่
1. การตอบโจทย์ความคาดหวังจากลูกค้า
2. เงินและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
2. การรักษาลูกค้าปัจจุบัน
2. การรักษาความคงที่ทางการเงิน
3. การตามหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ
3. การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การปรับขนาดเทคโนโลยีเพื่อการเติบโต

นอกจากนี้ วิกฤตการระบาด ยังถือเป็นปัจจัยหลักในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และสร้างผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการดำเนินงานของธุรกิจด้วยเช่นกัน ทั้งนี้วิกฤต COVID-19 ยังสร้างผลกระทบต่อการเติบโตของธุรกิจในประเทศไทยอีกด้วย โดยจากรายงานแสดงให้เห็นว่า ความต้องการของลูกค้าที่ลดลงถือเป็นผลกระทบจากวิกฤตในอันดับที่ 1 ตามมาด้วย รายได้ที่ลดลงเป็นอันดับ 2 และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเป็นอันดับ 3 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เจ้าของ SMB ไทยเริ่มพิจารณาถึงการสมัครหาตัวช่วยทางการเงินเป็นอันดับที่ 1 และในอันดับที่ 2 คือการกลับมาจ้างงานพนักงานที่เคยปลดไป โดยยังคงพิจารณาการลดจำนวนพนักงานลงในอันดับ 3 ไปพร้อมกัน ตามตารางด้านล่าง

ประเทศไทย: ผลกระทบจากวิกฤต COVID-19
ปัจจัยหลักจาก COVID-19 ที่ชะลอการเติบโตของกิจการในอนาคต
ข้อพิจารณาเพื่อปรับใช้กับกิจการ สืบเนื่องมาจากวิกฤต COVID-19
1. ความต้องการของลูกค้าที่ลดลง
1. การสมัครหาตัวช่วยทางการเงิน
2. รายได้ที่ลดลง
2. การกลับมาจ้างงานพนักงานที่เคยปลดไป
3. การหยุดชะงักของ ห่วงโซ่อุปทาน
3. การลดจำนวนพนักงานลง

ข้อมูลสำคัญและข้อเท็จจริงจากรายงานผลสำรวจทั่วโลก:
การขยายกิจการ SMB อาศัยการปรับตัวเพื่อความพึงพอใจของลูกค้าตลอดช่วงวิกฤต
49% ของกิจการ SMB ที่กำลังโต ให้ความยืดหยุ่นมากขึ้นกับลูกค้าในช่วงวิกฤต ยกตัวอย่างเช่น การยืดเวลาและอัพเดทระยะเวลาในการคืนสินค้าหรือชำระเงิน เป็นต้น
ในขณะที่การระบาดส่งผลให้พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป เจ้าของกิจการ SMB ยังต้องเผชิญหน้ากับปัจจัยการชะลอด้านการเงินและเงินทุน ซึ่งส่งผลให้ข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่ง อย่างเช่นการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาด ไปจนถึงการส่งมอบประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง ได้กลายเป็นเรื่องที่ยากมากยิ่งขึ้น
3 เรื่องที่เจ้าของกิจการ SMB หลายๆท่านให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ เพื่อรับมือและเตรียมพร้อมกับวิกฤตในอนาคต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า เวิร์กโฟลว์ และการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร

ความยืดหยุ่นและการมองโลกในแง่ดีของกิจการ SMB แม้จะอยู่ท่ามกลางความท้าทายใหม่ๆก็ตาม
3 ใน 5 ของเจ้าของกิจการ SMB กล่าวว่า คำสั่งในพื้นที่ซึ่งระบุให้ปิดหรือจำกัดระยะเวลาการดำเนินการ เป็นการคุกคามระบบการทำงานของธุรกิจของพวกเขา รวมไปถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสาธารณสุขเป็นการเพิ่มภาระในการการทำงานมากยิ่งขึ้น
ถึงแม้จะเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ เจ้าของ SMB 22% กล่าวว่าพวกเขายังคงมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับอนาคตของธุรกิจของตน โดยอีก 50% กล่าวว่าพวกเขาค่อนข้างมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับอนาคตของธุรกิจของตน

กิจการ SMB รูปแบบดิจิทัล มีความพร้อมในการรับมือกับความผันผวนของตลาดมากกว่า
เจ้าของกิจการ SMB 1 ใน 5 ได้เริ่มใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ นับตั้งแต่การแพร่ระบาดได้เริ่มขึ้น อาทิเช่น ซอฟต์แวร์อีเมล์ด้านการตลาด ซอฟท์แวร์เพื่อการให้บริการลูกค้า เครื่องมือในการทำงานร่วมกัน และซอฟท์แวร์อีคอมเมิร์ซ เป็นต้น
กิจการ SMB 55% ที่กำลังโตกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า ซึ่ง 51% กล่าวว่ามันเป็นการขับเคลื่อนการเติบโตของฐานลูกค้าไปในตัวอีกด้วย
74% ของเจ้าของกิจการ SMB กล่าวว่า ความง่ายในการใช้งาน ความน่าเชื่อถือของผู้ขาย และราคา เป็นข้อพิจารณาอันดับต้น ๆ ในการพิจารณาการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ

ดาวน์โหลดรายงาน SMB Trend 2020 ฉบับเต็มได้ที่ https://www.salesforce.com/form/pdf/2020-small-business-trends-report/

Comments

comments