Home > ข่าว ประชาสัมพันธ์ > หัวใจสำคัญ 3 ประการ ในการสร้างไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อปฏิรูปสภาพแวดล้อมทางการค้าและอุตสาหกรรมสู่ดิจิทัล

หัวใจสำคัญ 3 ประการ ในการสร้างไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อปฏิรูปสภาพแวดล้อมทางการค้าและอุตสาหกรรมสู่ดิจิทัล

//
Comments are Off

โดย วินเซนโซ ซาลเมอรี รองประธานฝ่าย คอมเมอร์เชียลและอุตสาหกรรม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ในภาคอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ การแข่งขันสู่การปฏิรูปดิจิทัลยังคงดำเนินต่อไป มีหลายบริษัทนำเทคโนโลยี อุตสาหกรรม 4.0 มาช่วยเพิ่มคุณภาพและผลิตผล และเพื่อให้ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยในการแข่งขัน บริษัททั้งหลายต้องสร้างศักยภาพด้านเอดจ์คอมพิวติ้งที่ปลอดภัย ให้ความน่าเชื่อถือ ซึ่งต้องอาศัยระบบโครงสร้างของไมโครดาต้าเซ็นเตอร์มาช่วยตอบสนองเรื่องดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม

อุตสาหกรรม 4.0 เกิดจากการผลักดันด้วยเทคโนโลยีอย่างแท้จริง ซึ่งมาจากการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ เพื่อรวบรวมข้อมูลจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ทุกรูปแบบมาช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพ และปรับปรุงกระบวนการทำงาน เหล่านี้คือประโยชน์บางส่วน การประยุกต์ใช้ IIoT หรือเทคโนโลยี IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรม ยังช่วยในเรื่องการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (preventive maintenance) ที่ช่วยเพิ่มเรื่องอัพไทม์ และลดค่าใช้จ่าย

ข้อมูล และข้อมูลในทุกแห่งหน

Construction workers using laptop on construction site

บริษัทวิจัย ไอดีซี คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 จะมี “อุปกรณ์” ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้จำนวน 40,000 ล้านชิ้น ซึ่งจะสร้างปริมาณข้อมูลมากถึงเกือบ 80 เซตตะไบต์ (หรือหนึ่งพันล้านล้านล้านไบต์) ในปี ซึ่งปริมาณข้อมูลที่เกิดจากอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อกัน จะทำให้เราได้เห็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี ที่ 28.7 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเวลาที่ไอดีซีได้คาดการณ์ไว้สำหรับปี 2018 ถึง 2025 แต่สำหรับภาคอุตสาหกรรมและยานยนต์จะเติบโตมากกว่า 2 เท่า คือ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามที่ไอดีซีกล่าว

เรากำลังพูดถึงข้อมูลจำนวนมหาศาล บล็อกโพสต์ของซิสโก้ในปี 2016 (ช่วงที่ทราฟฟิกบนอินเทอร์เน็ตมีปริมาณเกินระดับของ ZB) ได้ให้ภาพรวมไว้อย่างดี ให้ลองคิดว่าข้อมูลหนึ่ง ZB หรือเซตตะไบต์ มีจำนวนเทียบเท่า 1,000 เทระไบต์  และถ้าแต่ละเทระไบต์ที่อยู่ในหนึ่งเซตตะไบต์ มีความยาวเท่ากับ 1 กิโลเมตร ก็จะมีความยาวเท่ากับการเดินทางไปกลับดวงจันทร์ 1,300 รอบ แต่ละรอบคิดเป็นระยะทาง 768,800 กิโลเมตร 

และเมื่อคุณมีปริมาณข้อมูลขนาดมหาศาลระดับนั้น มีอยู่ 2-3 เหตุผลที่คุณต้องมีขุมพลังในการประมวลผลอยู่ในพื้นที่ อย่างแรกคือการส่งข้อมูลที่มีปริมาณขนาดใหญ่ไปประมวลผลที่คลาวด์ดาต้าเซ็นเตอร์ซึ่งอยู่ไกลไม่น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะ และสองคือ ความล่าช้าที่เกี่ยวข้องอาจจะแปรผันตามแอปพลิเคชัน IIoT จำนวนมากที่โดยธรรมชาติแล้วจะทำงานแบบเรียลไทม์  

คุณสมบัติหลักของเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์

องค์กรภาคการค้าและอุตสาหกรรม ต้องอาศัยเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่เพื่อรองรับความตั้งมั่นในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล และอุตสาหกรรม 4.0  คำถามคือ แล้วจะสร้างดาต้าเซ็นเตอร์แบบนั้นได้อย่างไร สิ่งที่ต้องพิจารณามีอยู่ 3 ประเด็นต่อไปนี้

  1. เอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ มักจะอยู่ในขอบเขตของพื้นที่อุตสาหกรรมหรือการค้าอยู่แล้ว อาจจะเป็นในร้านค้าปลีก โรงงานผลิต หรือกระทั่งสถานที่กลางแจ้ง เช่นสาธาณูปโภค ทำให้ต้องเป็นโซลูชันแบบออล-อิน-วัน ทั้งประมวลผล จัดเก็บและมีอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายที่ต้องติดตั้งอยู่ในพื้นที่ปิดประเภท self-contained enclosure ซึ่งระบบโครงสร้างแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จเป็นระบบที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ใน enclosure แบบไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ ที่รวมเรื่องของระบบพลังงานทั้งหมด และหากจำเป็นก็ต้องรวมองค์ประกอบในเรื่องระบบทำความเย็นด้วยเช่นกัน

 

  1. ระบบรักษาความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด แม้ธรรมชาติของเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์จะมีขนาดเล็ก แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนวัตถุประสงค์สำคัญทางธุรกิจ เช่นการปฏิรูปสู่ดิจิทัล  จากมุมมองด้านการรักษาความปลอดภัย จะต้องได้รับการดูแลเสมือนเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ส่วนกลาง นั่นหมายความว่ามีระบบรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบผ่านระบบวิดีโออย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจหาและป้องกันการเข้าถึงระบบโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการตรวจสอบสภาพแวดล้อมเพื่อแจ้งเตือนเรื่องความร้อน ความเย็น และความชื้นที่มากเกินไป 

 

  1. การบริหารจัดการได้จากระยะไกล มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากในหลายๆ กรณี หรือในกรณีส่วนใหญ่จะไม่มีพนักงานอยู่ประจำที่ไซต์เพื่อคอยตรวจสอบและบริหารจัดการเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ ดังนั้น พนักงานฝ่ายไอทีต้องสามารถตรวจสอบการทำงานของเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ได้จากส่วนกลาง คุณจะได้แต้มต่อ หากโซลูชันของคุณรวมบริการบำรุงรักษาเชิงป้องกันผ่านคลาวด์ เพื่อช่วยคาดการณ์และป้องกันความล้มเหลวก่อนที่จะเกิด

ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อประยุกต์กับทุกการใช้งาน

Enclosures ของไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ ตอบโจทย์ความต้องการในเรื่องการติดตั้งใช้งานได้อย่างเรียบง่ายและเร็ว ผู้สนใจสามารถตรวจสอบเพจหรือเว็บไซต์ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อพิจารณาทางเลือกและหาโมเดลที่เหมาะกับคุณมากที่สุด สำหรับท่านที่สนใจโซลูชัน APC By Schneider Electric สามารถติดต่อผ่านคู่ค้าของเรา เพื่อประเมินว่าโมเดลไหนที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรคุณ โดยดูจากองค์ประกอบที่จำเป็น หรือเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/366qcTl 

 

You may also like
Schneider Electric จับมือ AVEVA เปิดโครงการ Schneider Go Green รุ่นที่ 12 ดันเด็กไทยไปแข่งอินเตอร์ฯ ชิงทุนการศึกษาราว 370,000 บาท
ทำไมระบบบริหารจัดการโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งขึ้น โดย เควิน บราวน์ รองประธานอาวุโส โซลูชัน EcoStruxure ธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุ่งเสริมศักยภาพ เร่งทรานส์ฟอร์มช่างไฟสู่ดิจิทัล
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค รุดหน้าดำเนินการด้านสภาพอากาศ ด้วยบริการลดคาร์บอนในซัพพลายเชนทั่วโลก บริการล้ำหน้าจะช่วยองค์กรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3 ผ่านการผสานรวมทั้งการวัดปริมาณ การวางกลยุทธ์ และการติดตั้งโซลูชัน