Home > ข่าว ประชาสัมพันธ์ > แบรนด์หันผสานไลฟ์สดกับช่องทางการขายอื่นเพื่อเพิ่มยอดขาย โดย คิมมี เฉิน ผู้จัดการทั่วไป Shoplus

แบรนด์หันผสานไลฟ์สดกับช่องทางการขายอื่นเพื่อเพิ่มยอดขาย โดย คิมมี เฉิน ผู้จัดการทั่วไป Shoplus

//
Comments are Off

 

คุณจะทำอย่างไรหากลูกค้าของคุณชื่นชอบที่จะใช้เวลาบนแพลตฟอร์มที่ร้านของคุณไม่ได้ตั้งอยู่?
ในโลกความเป็นจริงวิธีการแก้ปัญหานี้ต้องใช้เวลาและต้นทุนสูง เพราะสิ่งที่คุณต้องทำคือการเพิ่มสาขาหน้าร้านซึ่งนับเป็นเรื่องท้าทาย เนื่องจากมีหลายองค์ประกอบที่คุณต้องวางแผน ไม่ว่าจะเป็น การหาทำเลที่ดี การรับสมัครพนักงานใหม่ การตกแต่งร้าน

และการสต๊อกสินค้า แต่หลายปีที่ผ่านมาธุรกิจค้าปลีกหลายรายทั่วเอเชียหันมาเปิดร้านบนช่องทางออนไลน์แทนเพื่อเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยยกระดับประสบการณ์ที่ดีกว่าให้กับลูกค้า เนื่องจากแบรนด์และร้านค้าสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าบนช่องทางหนึ่ง และเชื่อมต่อให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าในอีกช่องทางหนึ่งได้ด้วย
วิธีการขายหลากหลายช่องทางได้กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของธุรกิจค้าปลีก
มีธุรกิจค้าปลีกจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ค้นพบว่าคุณค่าของการเริ่มขายสินค้าผ่านช่องทางไลฟ์สดคือใช้เพื่อช่วยสร้างการรับรู้ของแบรนด์และกระตุ้นการตัดสินใจซื้อสินค้า จากนั้นสร้างการเชื่อมต่อลูกค้าไปยังช่องทางขายหลักของแบรนด์เพื่อปิดการขาย
ปรับตัวรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง


ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น ธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยหันมาขายสินค้าบนช่องทางออนไลน์มากขึ้นเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและรักษายอดขาย แต่การจัดสรรงบการตลาดให้ถูกทางนับเป็นความท้าทายที่สุดสำหรับธุรกิจค้าปลีก ไม่ว่าจะเป็น
แบรนด์ไฮสตรีทหรือธุรกิจขนาดเล็กรุ่นใหม่ที่พร้อมปรับตัว เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ธุรกิจอาจมีการลงทุนเพื่อพัฒนาช่องทางขายออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง หรือ การลงทุนเพื่อให้มีหน้าร้านอยู่บนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ แต่ปัจจัยสำคัญคือ การดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาที่ร้าน แม้เราจะได้เห็นผู้บริโภคจำนวนมากหันมาซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด แต่ไม่มีช่องทางไหนที่ได้รับความนิยมที่สุดมากกว่าช่องอื่นๆ เนื่องจากลูกค้านิยมที่จะซื้อสินค้าบนโซเชียลมีเดียและระบบแชทมากพอๆกับเว็บไซต์หลักของแบรนด์
ผู้ใช้โซเชียลมีเดียคือปัจจัยสำคัญ

เป็นที่ทราบกันดีกว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียมากที่สุด โดยมีจำนวนกว่า 55 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มจากปี 2563 กว่า 3 ล้านคน และจากจำนวนนี้เป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 93% ในขณะที่ 2 ใน 3 (64%) เป็นผู้ใช้อินสตาแกรมเป็นประจำ จากรายงานล่าสุดของแมคคินซีย์ เผยว่า นักช็อปชาวไทยกว่า 52% ดูสินค้าบนโซเชียลมีเดียก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งนับเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อธุรกิจค้าปลีก
การไลฟ์สดขายสินค้า เป็นหนึ่งในเทรนด์ใหม่ยอดนิยมในปีที่ผ่านมา และเป็นช่องทางการขายที่มีประสิทธิภาพที่สุดให้
แบรนด์ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย สามารถเข้าถึงลูกค้าและปิดการขายได้
การซื้อสินค้าผ่านไลฟ์สดบนเฟซบุ๊กได้รับความนิยมในหมู่ลูกค้า เพราะมีความสนุกสนานและลูกค้าสามารถมีส่วนร่วมได้ ซึ่งเป็นการจำลองประสบการณ์เสมือนได้ไปซื้อสินค้าที่หน้าร้านจริงผ่านระบบดิจิทัล ที่ลูกค้าสามารถเห็นสินค้าจริงและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ขาย
นอกจากการไลฟ์สดขายสินค้าจะช่วยให้แบรนด์ได้ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้แบรนด์สามารถออกแบบประสบการณ์การซื้อสินค้าของลูกค้าด้วยตนเองได้อีกด้วย
สร้างยอดขายจากการไลฟ์สดด้วยการเพิ่มช่องทางการขาย
ในขณะที่การไลฟ์สดขายสินค้าเป็นกระบวนการที่ต้องทำตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่การนำเสนอสินค้าไปจนถึงการปิดการขายและจัดส่งสินค้า บางแบรนด์ค้นพบวิธีการไลฟ์สดขายสินค้าแบบใหม่ๆและสร้างสรรค์ด้วยการผสานการไลฟ์สดเข้ากับช่องทางการขายที่มีอยู่แล้ว


ปัจจุบันแบรนด์สามารถผสานฟังก์ชั่นต่างๆเข้ากับการไลฟ์สดขายสินค้าบนเพจเฟซบุ๊กของแบรนด์ได้แล้ว อาทิ ระบบ AI Chatbot ที่ให้แบรนด์สามารถพูดคุยกับลูกค้าและส่งข้อความเพื่อพาลูกค้าเข้าสู่กระบวนการในการปิดการขายได้โดยตรง การสร้างรายได้จากวิดีโอไลฟ์สดถือว่าช่วยสร้างความแตกต่างอย่างมากให้กับแบรนด์ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แบรนด์เครื่องดื่มยักษ์ใหญ่อย่าง เป๊บซี่ เป็นหนึ่งตัวอย่างของแบรนด์ที่ไลฟ์สดบนเพจเฟซบุ๊กของตนเองในช่วงที่มีแคมเปญเปิดตัว Blackpink วงเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีที่โด่งดัง เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของเป๊บซี่ที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป๊บซี่ได้ใช้ฟังก์ชั่น AI Live และ AI Chatbot ที่ช่วยให้แบรนด์สามารถพูดคุย สร้างปฏิสัมพันธ์กับแฟนๆได้แบบเรียลไทม์และยังสามารถเชื่อมต่อลูกค้าจากหน้าแฟนเพจ ตรงไปยังหน้าร้านของแบรนด์บนแพลตฟอร์มลาซาด้าได้ง่ายๆเพียงหนึ่งคลิ๊ก ทำให้เป๊บซี่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบจัดการสินค้าบนลาซาด้า และลดความซ้ำซ้อนของช่องทางชำระเงิน คลังสินค้า และการสต๊อกสินค้าได้อีกด้วย
ฟังก์ชั่นเหล่านี้ทำงานอย่างไร? เมื่อเทคโนโลยี AI ตรวจจับคีย์เวิร์ดในคอมเม้นท์ ระบบจะส่งข้อความไปหาลูกค้าผ่านช่องทางเมสเซนเจอร์เพื่อให้ลูกค้าคลิ๊กปุ่มที่จะนำลูกค้าไปยังเว็บไซต์ของร้านค้าที่ระบุไว้ เพื่อทำการสมัครหรือติดตั้ง
แอปพลิเคชัน หลังจากนั้นลูกค้าจะเข้าสู่ขั้นตอนการซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านช่องทางที่แบรนด์ได้ติดตั้งไว้ เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนชำระเงินแล้ว ร้านค้าหรือแพลตฟอร์มก็จะดำเนินการจัดส่งสินค้า โดยในช่วงที่มีคนดูไลฟ์สูงสุด เพจเพซบุ๊กของเป๊บซี่มีเอนเกจเมนท์เพิ่มมากขึ้นกว่า 35 เท่า เทียบกับช่วงเวลาปกติ และมีคนดูเข้ามาคอมเม้นท์มากกว่า 47,000 คอมเม้นท์ เทคโนโลยีของ Shoplus ช่วยให้เป๊ปซี่สามารถขายสินค้าในคลังหมดในเวลาเพียงไม่กี่นาที
“Shoplus ช่วยให้เราสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าให้กับลูกค้าที่เป็นแฟนคลับของ Blackpink เรารู้สึกพอใจมากกับผลลัพธ์ที่ได้ไม่ว่าจะเป็นเอนเกจเมนท์ที่เพิ่มขึ้นและลูกค้าสามารถมีส่วนร่วมได้มากขึ้น นี่ถือเป็นครั้งแรกที่เราได้ร่วมมือกับ Shoplus ซึ่งเรามีความยินดีเป็นอย่างมาก และหวังว่าจะได้ร่วมงานกันในอีกหลายโปรเจคในอนาคต” โดมินิค ลายูกัน ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ เป๊บซี่ ฟิลิปปินส์ กล่าว
การไลฟ์สดขายสินค้าอาจะเป็นเพียงเทรนด์ที่พึ่งเกิดขึ้นไม่นาน แต่เห็นได้ชัดเจนว่าแบรนด์ต่างๆกำลังพัฒนาเพื่อนำการไลฟ์สดมาปรับใช้ในแบบของตัวเองและสร้างยอดขายให้ได้มากที่สุด Shoplus มอบบริการเทคโนโลยี AI เพื่อการไลฟ์สดบนเพจเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมเพื่อช่วยแบรนด์เติมเต็มระบบการจัดการและมอบประสบการณ์การซื้อสินค้าที่ไร้รอยต่อให้กับลูกค้า

You may also like
6 เทรนด์สำคัญกำหนดอนาคตธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2565
Shoplus เปิดตัวแพ็คเกจ Free พร้อมฟีเจอร์โพสต์ขายสินค้าอัตโนมัติ สนับสนุนร้านค้าออนไลน์ช่วงโควิด
Shoplus เผย การขายของออนไลน์เป็นโอกาสของธุรกิจทุกประเภท ไม่จำกัดเพียงเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่น
ผู้นำองค์กรต้องเพิ่มกลยุทธ์ป้องกันการปลอมแปลงอัตลักษณ์บุคคล (Deep-Fake) โดย นายแดริน สจ๊วต รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์