Home > ข่าว ประชาสัมพันธ์ > โนเกียทำลายสถิติ 5G ครั้งใหม่

โนเกียทำลายสถิติ 5G ครั้งใหม่

//
Comments are Off

1. โนเกียทำลายสถิติ 5G ครั้งใหม่
ที่ออสเตรเลีย โนเกีย ร่วมกับ Optus ได้ทำลายสถิติการส่งข้อมูลบนเครือข่าย 5G ความเร็ว 10 Gbps ในช่วงคลื่นมิลลิเมตร (mmWave) บนความจุ 800 MHz ซึ่งนี่คือการแสดงให้เห็นถึงความสามารถของเทคโนโลยีคลื่นความถี่ 5G ของโนเกีย และยังช่วยให้ทั้งลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และลูกค้ากลุ่มบริการเชื่อมต่อไร้สายแบบประจำที่ (fixed wireless) ได้เพลิดเพลินไปกับความเร็วที่เพิ่มขึ้นบนเครือข่ายของ Optus

นอกจากนี้ โนเกีย ยังได้ทำงานร่วมกับ Qualcomm และ UScellular ในสหรัฐอเมริกา เพื่อทำสถิติโลกในการขยายช่วงสัญญาณให้กว้างมากกว่า 10 กิโลเมตรโดยการใช้งานโซลูชั่นคลื่น mmWave 5G แบบขยายระยะสัญญาณบนเครือข่ายเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยในการปิดช่องว่างด้านความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ (digital divide) และนำเสนอบริการ 5G ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้มากขึ้น รวมถึงพื้นที่ในชนบทของสหรัฐอเมริกา

โนเกีย จับมือกับ Proximus ผู้ให้บริการเครือข่ายบรอดแบนด์แบบประจำที่ (fixed broadband network) ชั้นนำของเบลเยี่ยม เพื่อใช้งานเทคโนโลยี 25G PON และเครือข่ายไฟเบอร์ที่เร็วที่สุดครั้งแรกของโลก ซึ่งดำเนินงานบนเครือข่ายที่มีอยู่กับอุปกรณ์ของโนเกียที่อยู่บนเครือข่ายของ Proximus ซึ่งเป็นเครือข่ายไฟเบอร์ที่เชื่อมต่ออาคาร Havenhuis ที่ท่าเรือแอนต์เวิร์ป กับสำนักงานกลางของ Proximus ที่ตั้งอยู่ย่านใจกลางเมือง โดยเครือข่ายนี้มีความเร็วสูงสุดถึง 20 กิกะไบต์ต่อวินาที ส่งผลให้กลายเป็นเครือข่ายไฟเบอร์ที่เร็วที่สุดในโลก

และในระดับโลก โนเกียได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าบริษัทได้รับการจัดอันดับให้เป็น ที่หนึ่งในด้านการจดสิทธิบัตร 5G จากการศึกษาของ Stadard Essential Patents โดยบริษัทนักวิเคราะห์อิสระ PA Consulting ผลการศึกษาได้สรุปไว้ว่าโนเกียได้กลายเป็นผู้นำในการถือกรรมสิทธิ์ในสิทธิบัตรที่มีการออกให้ ซึ่งนักวิจัยพบว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากกับมาตรฐาน 5G ซึ่งนี่เป็นครั้งที่สองที่โนเกียแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในการจดสิทธิบัตร Standard Essential Patents ของ 5G ที่ยืนยันได้จากผลงานวิจัยของ PA Consulting ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นองค์กรอันดับหนึ่งด้านการวิเคราะห์จากการศึกษาเมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ โนเกีย ยังได้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์เพื่อการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ต่าง ๆ ในระบบคลาวด์สาธารณะเป็นครั้งแรกของโลก โดยการผนวกกรอบการทำงานด้านความปลอดภัยของโนเกียผ่านห้องสมุดที่มีการใช้งานในระบบ AVA AI เข้ากับสถาปัตยกรรมรูปแบบดิจิทัลของ Microsoft Azure โดยผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) สามารถป้อนระบบ AI เข้าสู่เครือข่ายได้ไวกว่าการใช้คลาวด์ส่วนตัวถึง 5 เท่า และยังช่วยเพิ่มปริมาณความจุในเครือข่ายได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย

2. โนเกียประสบความสำเร็จในการทำสัญญาวางโครงข่าย 5G ในไต้หวันและฟิลิปปินส์
ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา โนเกียคว้าชัยชนะในโครงการด้านพัฒนาโครงข่าย 5G สองโครงการในไต้หวันและฟิลิปปินส์ ที่ไต้หวัน โนเกียได้รับเลือกโดย ชุงฮวาเทเลคอม (Chunghwa Telecom: CHT ) ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ให้เป็นผู้ขยายสัญญาณเครือข่าย 5G ของบริษัท โดยข้อตกลงทางธุรกิจนี้เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของ CHT ในการขยายสัญญาณ 5G ให้ครอบคลุมประชากรทั้งหมด 80 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับเพิ่มจำนวนการบอกรับเป็นสมาชิกสัญญาณ 5G ให้เพิ่มขึ้นอีกกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของฐานสมาชิกปัจจุบัน โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากพอร์ตโฟลิโอ AirScale ของโนเกียเพื่อการเชื่อมต่อที่ดียิ่งขึ้นให้กับประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจในภาคใต้และตอนกลางของไต้หวัน

ส่วนที่ฟิลิปปินส์ โนเกียได้ทําข้อตกลงกับ DITO Telecommunity Corporation (DITO) เพื่อขยายบริการสัญญาณ 5G ไปยังเกาะมินดาเนา โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้ DITO สามารถวางกลยุทธ์รูปแบบใหม่ในการสร้างเครือข่าย 5G คุณภาพสูงและกระจายสัญญาณได้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งโครงการพัฒนาเครือข่ายนี้ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ที่เพิ่งผ่านมา นอกจากนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายดังที่ DITO ตั้งใจไว้ โนเกียจึงได้นำเสนออุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่กลุ่มผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์การรับ-ส่งคลื่น MIMO เทคโนโลยี Multibrand และกลุ่ม Single RAN AirScale เพื่อสร้างโครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ Radio Access Network (RAN) ให้กับโครงสร้างพื้นฐาน 5G บนเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของฟิลิปปินส์อีกด้วย

3. โนเกีย ร่วมกับ Allo ในการติดตั้งเครือข่ายไฟเบอร์กิกะบิตต์ในมาเลเซีย
โนเกียได้รับเลือกจาก Allo ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของมาเลเซีย ในการติดตั้งเครือข่ายไฟเบอร์กิกะบิตต์ ในรัฐมะละกา รัฐยะโฮร์ รัฐเนกรีเซมบีลัน และพื้นที่ตามแนวชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซีย

การปรับใช้โครงข่ายในครั้งนี้ได้รวมเอาโซลูชันเครือข่ายใยแก้วนำแสงแบบพาสซีฟกิกะบิตต์ (Gigabit Passive Optical Network: GPON) และระบบการจัดการการเข้าถึงของโนเกียเข้าไว้ด้วย โดยโครงการจะแล้วเสร็จภายในช่วงปลายไตรมาสที่สองของปี 2564 ซึ่งจะครอบคลุมการให้บริการถึง 150,000 ครัวเรือน โดยเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเครือข่ายบรอดแบนด์ความเร็วสูงและใช้งานต่าง ๆ ที่ต้องการความจุของข้อมูลปริมาณสูงได้อย่างเต็มที่ สำหรับเครือข่ายไฟเบอร์เพื่ออนาคตดังกล่าวจะทำให้ Allo สามารถสร้างผลกำไรได้มากขึ้นจากการที่บริษัทสามารถสนับสนุนการนำไปใช้งานใหม่ ๆ อาทิ เมืองอัจฉริยะ เสาอัจฉริยะ ระบบ edge automation โครงข่ายแบคฮอล 5G และบริการสำหรับองค์กรต่าง ๆ

4. บริการ Quillion บรอดแบนด์แบบประจำที่ ของโนเกีย มีลูกค้าแล้วถึง 100 ราย
โนเกีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเมื่อมีฐานลูกค้าได้ถึง 100 ราย กับโซลูชันบรอดแบนด์ที่พัฒนามากับชิปเซ็ต Quillion ที่ใช้ในเครือข่ายไฟเบอร์รุ่นล่าสุดและเครือข่ายโทรคมนาคมแบบสายทองแดง

ทั้งนี้ บริการด้านเครือข่ายใยแก้วนำแสงของโนเกียส่วนใหญ่จะอยู่บนโซลูชันพื้นฐานแบบ Quillion ‘Multi-PON’ ซึ่งสามารถรองรับเครือข่ายใยแก้วนำแสงแบบพาสซีฟขนาด 10Gb/s ที่ใช้ในปัจจุบัน และยังถือเป็นโซลูชันเดียวในตลาดที่เปิดใช้งานรองรับความจุปริมาณสูงขนาด 25Gb/s เช่น โครงข่ายการขนส่ง 5G ได้นอกจากนี้ โซลูชันบนพื้นฐานของ Quillion ยังประหยัดพลังงานมากกว่าการติดตั้งแบบไฟเบอร์รุ่นก่อน ๆ อย่างน้อย 50% และสามารถบรรลุเป้าหมายในการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมสำหรับอุปกรณ์การสื่อสารแบบบรอดแบรนด์ได้เร็วกกว่ากำหนดถึงสองปี นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ประกอบการบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย ปัจจุบัน ชิปเซ็ต Quillion ได้ถูกนำไปใช้ในกว่า 40 ประเทศทั่วโลกแล้ว

5. โนเกีย เปิดตัว blockchain-powered Data มาเก็ตเพลส เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการซื้อขายข้อมูลและโมเดลปัญญาประดิษฐ์
โนเกีย เปิดตัว Nokia Data Marketplace บริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลและโมเดล ปัญญาประดิษฐ์ ได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเอื้อต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถสร้างรายได้จากการซื้อขายข้อมูลได้ โดยบริการใหม่นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนให้องค์กร และผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) ต่าง ๆ สามารถเป็นผู้ให้บริการในตลาดข้อมูลได้ด้วยตนเอง ด้วยการซื้อขายแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างลูกค้าและผู้ประกอบธุรกิจภายในระบบนิเวศนี้ได้

6. รายงานด้านความยั่งยืนของโนเกีย เผยให้เห็นถึงพันธกิจในการช่วยลดอุณหภูมิโลกลง 1.5 องศา และมียอดผู้สมัครสมาชิกกว่า 6.6 พันล้าน
โนเกียได้ออกรายงานประจำปีด้านความยั่งยืนในหัวข้อ People and Planet 2020 ที่เผยข้อมูลให้เห็นว่าโนเกียได้บรรลุเป้าหมายในการมีผู้ตอบรับเป็นสมาชิกถึง 6.5 พันล้านรายชื่อ ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงสองปี และในรายงานยังแสดงถึงจุดยืน ความสำเร็จ และความจำเป็นของโนเกีย ในด้านการพัฒนาและความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน รวมถึงการเตรียมตัวขององค์กรให้สอดคล้องกับมาตรฐาน GRI และกรอบมาตรฐานด้านความยั่งยืนต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานทางบัญชีความยั่งยืน (Sustainability Accounting Standards Board: SASB) และกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact)

โดยส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการกำหนดการลดก๊าซเรือนกระจก (Science-based Targets (SBT) ของโนเกีย ยังสะท้อนให้เห็นว่าโนเกียได้ให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยมลพิษลง 50% ในช่วงปี 2019 – 2030 ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการจำกัดอุณหภูมิความร้อนของโลกไว้ไม่ให้เพิ่มขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ โนเกียยังให้ความสำคัญต่อพันธกิจด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการประสานความร่วมมือ โดยบริษัทได้ออกมาเน้นย้ำว่าสังคมแห่งอนาคตที่มี 5G เป็นศูนย์กลางจะถูกสร้างขึ้นมาบนหลักของความเท่าเทียม ความเชื่อใจ ความยั่งยืน และคำนึงถึงผู้คนในสังคมก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ Life in 2030 ของโนเกีย

7. เจาะลึก
Aron Heller หัวหน้านักเขียนและบรรณาธิการ Cloud and Network Services ของโนเกีย ได้กล่าวถึงวิธีการที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาช่วยสร้างโซลูชั่นที่ยั่งยืนให้กับโลกของเรา โดยเน้นในเรื่องการเกษตรอัจริยะ (smart agriculture) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัว (private wireless network) ที่ไปช่วยลดการใช้พลังงานและช่วยเพิ่มผลผลิต

Stephan Miller, Head of Global Automotive Segment ของโนเกีย ได้อธิบายว่าทำไม 5G จึงให้มากกว่าความเป็นเทคโนโลยีสำหรับโรงงานอัจฉริยะ (smart factory) ในธุรกิจผลิตยานยนต์ ด้วยการให้ผู้รับจ้างผลิตรถยนต์สามารถดัดแปลงโครงสร้างภายในตัวรถให้ทันสมัยขึ้นผ่านเครือข่าย 5G แบบส่วนตัว ที่จะช่วยลดเวลาในการผลิต และยังเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าเจ้าของแบรนด์อีกด้วย

ส่วน Ray Sabourin, Senior Enterprise Global Business Development Executive ของโนเกียเขียนเล่าในบทความที่เขาโพสต์บนบล็อกของเขาเองเกี่ยวกับระบบการสื่อสารไร้สายแบบส่วนตัวภายในรั้วมหาวิทยาลัยว่าได้สร้างคุณูปการอย่างมากต่อสถาบันการศึกษา ที่รวมถึงงานระบบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีสมรรถนะด้านความน่าไว้วางใจสูง และยังครอบคลุมทั้งในและนอกอาคาร อีกทั้งความจุและความคล่องตัวของระบบผู้ใช้หลายคนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดเครือข่ายหนึ่งเดียวที่รองรับการใช้งานทั้งหมดได้

สุดท้ายคือ David Nowoswiat, Senior Product Marketing Manager ของโนเกีย ที่เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในงานแสดงสินค้า 2021 Hannover Messe Manufacturing นั้นได้จุดประกายความก้าวหน้าครั้งสำคัญในอุตสหากรรม 5G ด้านการผลิตและโลจิสติกส์อัจริยะ ซึ่งโดยหลัก ๆ เกิดขึ้นผ่านการบูรณาการในระดับบริการและในสนามทดสอบเพื่อพัฒนาระบบ 5G สำหรับการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของการใช้งาน

 

You may also like
อีริคสัน
อีริคสัน (Ericsson) โชว์ศักยภาพผู้นำ 5G ระดับโลกในงาน MWC 2023
โนเกีย จัดแสดงนวัตกรรม 5G แห่งอนาคต ในงาน Byond Mobile 2022
เอชเอ็มดี โกลบอลเปิดตัว Nokia G50 สมาร์ทโฟน 5G ใหม่
โนเกีย รุกหนักตลาดออนไลน์ อัดแคมเปญ 9.9 สุดยอดโปรฯ แรงแห่งปี บนอีมาร์เกตเพลส